จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมในรายวิชามนุษย์ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ใบงานที่ 1
การประเมินตนเองก่อนเรียน
“ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา”
ชื่อ .............................................................................หมู่เรียน.......................................รหัส................

1. นักศึกษาเคยได้ยินคำว่า “ระบบนิเวศถูกทำลาย” หรือไม่ ในคำพูดนี้
1.1 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศตามความเข้าใจของนักศึกษา คืออะไร
1.2 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศจะถูกทำลายไปจากสาเหตุใดบ้าง
1.3 นักศึกษาคิดว่าหากระบบนิเวศถูกทำลายไปจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
นักศึกษาส่งคำตอบทุกประเด็น ในfacebook ในช่องบันทึกของนักศึกษา แล้วแจ้งการส่งมาที่ facebook ใน e-mail ชื่อ voice_of_village@hotmail.com

ใบงานที่ 2
การสร้างEcological Time Scale
และแผนภาพความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
ชื่อกลุ่ม....................................................................สมาชิกกลุ่ม.............................................................
1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 10 คน ศึกษาเรื่อง “Ecological Time Scale และความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
2. นักศึกษาแต่ละกลุ่ม สร้าง Ecological Time Scale และแผนภาพความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
a. ศึกษาเนื้อหาและช่วงเวลาของ Ecological Time Scale และความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
b. สร้างประโยค/วลี/คำพูดสั้นๆที่บ่งบอกถึงแนวคิด (concept) ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละช่วงเวลา/ช่วงยุค
c. นำกระดาษเทปมาวางแล้วสร้างช่วงแต่ละมหายุค ยุค และสมัยทางธรณีวิทยาแล้ววางชื่อมหายุค ยุค และสมัย พร้อมประโยคที่เป็นแนวคิดแทนสิ่งที่เกิดขึ้น
d. ตกแต่งสวยงามและนำเสนอ




ใบงานที่ 3
กิจกรรม “นักสืบสายน้ำปิง”
ชื่อกลุ่ม...................................................................สมาชิกกลุ่ม..............................................................
1. นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 10คน ศึกษารายละเอียดของกิจกรรมนักสืบสายน้ำจาก www.greenworld.or.th/environment/river ในประเด็นต่อไปนี้
a. ความสำคัญของลำน้ำ
b. ขั้นตอนและกระบวนการในการประเมินคุณภาพน้ำโดยใช้กลุ่มสัตว์เล็กน้ำจืดเป็นตัวชี้วัด
c. แนวทางการอนุรักษ์ลำน้ำและสิ่งแวดล้อม
2. นักศึกษาออกสำรวจลำน้ำปิงหรือสาขา ศึกษาการประเมินคุณภาพน้ำโดยทำตามขั้นตอนในคู่มือนักสืบสายน้ำ พร้อมผลการประเมิน
3. นำเสนอผลการประเมินคุณภาพลำน้ำในรูปของการอภิปรายในชั้นเรียน

ใบงานที่ 4
กิจกรรมการศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมโลก

นักศึกษาที่ลงทะเบียนทั้งหมด ร่วมกิจกรรมการศึกษาการศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมโลก จากการชมภาพยนตร์เรื่อง “An Inconvenient Truth” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การร่วมกิจกรรมชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth
2. เขียนความเรียงในประเด็นต่อไปนี้
a. เนื้อหา/องค์ความรู้ที่ได้จากการชมภาพยนตร์
ความเรียงเรื่อง “เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราจะต้องร่วมมือกันทำสิ่งใด”จำนวน 1 หน้ากระดาษ a4 แล้วนำลงที่ facebook ของตนเองและแจ้งการส่งมาใน e-mail ชื่อ voice_of_village@hotmail.com

ใบงานที่ 5
โครงงานความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนท้องถิ่น
นักศึกษาจะต้องจัดทำโครงงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยชุมชนเป็นพื้นที่ในการจัดทำโครงงานประกอบด้วยขั้นตอน
1. เลือกประเด็นปัญหา
2. จัดเตรียมวางแผนในการศึกษาปัญหา
3. ศึกษาปัญหา
4. นำเสนอโครงงานการแก้ปัญหาต่ออาจารย์
5. วางแผนในการทำโครงงาน
6. จัดทำ/นำเสนอโครงงานต่อชุมชน
7. ประเมินผล
ตัวอย่างโครงงาน
โครงงาน “เสียงตามสายเรื่องการจัดการน้ำโดยชุมชน ของหมู่บ้านหนองปิ้งไก่”
โครงงาน “การศึกษาระบบนิเวศริมน้ำปิง ชุมชนนครชุม”
โครงงาน “การศึกษานักสืบสายน้ำ แม่น้ำปิง”
โครงการ “การทำหนังสั้น สิ่งมีชีวิตจากนอกระบบนิเวศ”

กระบวนการในการทำงานโครงงาน

ชื่อโครงงาน………………………………………………………………………………………………………...
หลักการ
กระบวนการในการทำงาน
1) เริ่มการเรียนรู้จากคำถาม/ปัญหา (Start with Question)

2) ออกแบบวางแผนสำหรับโครงงาน (Design a plan for project)

3) สร้างตารางในการทำงาน (Create a Schedule)

4) ติดตามดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการตามโครงการได้ (Monitor the Progress of the Project)

5)เข้าถึงผลลัพท์ของการทำงาน(Assess the Outcome)

6)ประเมินผลตามประสบการณ์(Evaluate the Experience)



ใบงานที่ 6
การประเมินตนเองหลังเรียน
“ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา”
ชื่อ .............................................................................หมู่เรียน.......................................รหัส................

1.นักศึกษาเคยได้ยินคำว่า “ระบบนิเวศถูกทำลาย” หรือไม่ ในคำพูดนี้
1.1 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศตามความเข้าใจของนักศึกษา คืออะไร
1.2 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศจะถูกทำลายไปจากสาเหตุใดบ้าง
1.3 นักศึกษาคิดว่าหากระบบนิเวศถูกทำลายไปจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
นักศึกษาส่งคำตอบทุกประเด็น ในfacebook ในช่องบันทึก แล้วส่งมาที่ facebook ใน e-mail ชื่อ voice_of_village@hotmail.com

รายละเอียดของรายวิชามนุษย์ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

มคอ.3

รายละเอียดของรายวิชา


ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะ/ภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์/ภาควิชาภูมิศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา
2541001 มนุษย์ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (Human Community and Environment)

2. จำนวนหน่วยกิต หรือจำนวนชั่วโมง
2 หน่วยกิต/2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3. หลักสูตรและประเภทรายวิชา
วิชาศึกษาทั่วไป

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
ผู้สอน วัลลภ ทองอ่อน
สถานที่ติดต่อ ศูนย์ภูมิสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
หมายเลขโทรศัพท์ 0819735659
โทรสาร 055721878
e-mail wallop1234@hotmail.com

5. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553

6. รายวิชาที่เรียนมาก่อน (Pre-requisite)
ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)
ไม่มี

8. สถานที่เรียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

9. วันที่ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
วันที่ 15 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
2. ให้มีจิตสำนึกของความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. ให้มีส่วนร่วมและทักษะในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
1. แนวคิดและปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เป็นพลวัต การพัฒนาปรับปรุงองค์ความรู้ดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
2. ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่/ชุมชนย่อมมีความแตกต่างกันไป การเลือกสรรองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะทำให้เกิดความเข้าใจในพื้นที่และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชุมชนได้



หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา
1) ศึกษาความหมาย ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 3) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น 4) การดำเนินกิจกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 5) การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
แนวคิด มนุษย์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดชีวิต ทรัพยากรธรรม ชาติ ถูกนำมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างกำจัดขาดความสมดุล ส่งผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการใช้ และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การการพัฒนาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
การเรียนการสอนในรายวิชา2541001 มนุษย์ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม จะมุ่งใช้แนวคิดแนวคิดด้านการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในการเรียนรู้และแนวคิดด้านการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แนวคิดด้านการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีลักษณะเป็นการเรียนการสอนแบบเน้นการปฎิบัติในการเรียนรู้ จึงมุ่งใช้โครงงานเป็นฐานการเรียนรู้ (Project- Based Learning) โดยเน้นการปฏิบัติงานจริงจากข้อมูลในพื้นที่จริง (Authenticity) เน้นความเป็นวิชาการ (Academic) เน้นการประยุกต์ใช้ (Application) เน้นการปฏิบัติได้ (Active) และเรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ (Adult)
โดยที่การเรียนรู้การใช้โครงการเป็นฐานการเรียนรู้ (Project- Based Learning) มีหลักการคือ 1) เริ่มการเรียนรู้จากคำถาม (Start with Question) 2) ออกแบบวางแผนสำหรับโครงการ (Design a plan for project) 3) สร้างตารางในการทำงาน (Create a Schedule) 4) ติดตามดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินการตามโครงการได้ (Monitor the Student and the Progress of the Project) 5) เข้าถึงผลลัพท์ของการทำงาน (Assess the Outcome) 6) ประเมินผลตามประสบการณ์ (Evaluate the Experience)
2. แนวคิดด้านการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เนื่องจากการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ท่องเที่ยวภาคเหนือจะเน้นการศึกษาทั้งในเชิงมหภาคและเชิงจุลภาค ดังนั้น แนวคิดด้านการใช้ชุมชนภาคเหนือเป็นฐานการเรียนรู้ (Community Based-Learning) จึงได้นำมาพัฒนาในการสร้างชิ้นงาน โดยเน้นการมีจิตสำนึกสาธารณะ (Service-Learning) การเรียนรู้จากการทดลอง (Experiential learning) การเรียนรู้จากโรงเรียนสู่งาน (School-to-Work) การได้งานขณะเรียน (Youth Apprenticeship) และ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย 20 ชั่วโมงต่อภาคเรียน
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
ไม่มีการฝึกปฏิบัติ
การศึกษาด้วยตนเอง
12 ชั่วโมงต่อภาคเรียน

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)



หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 1. มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น 2. สำนึกในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเคารพในสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1.2. วิธีการสอน
1. อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในการสอน
2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
3. เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ สมาชิกกลุ่ม ฝึกความรับผิดชอบ
5. การเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์
1.3. วิธีการประเมินผล
1. ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย การเข้าร่วมกิจกรรม
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากพฤติกรรมการเรียนและการสอบ
2. ความรู้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
1. เข้าใจความรู้พื้นฐานของศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
2. มีความรอบรู้ โดยการผสมผสานเนื้อหาในศาสตร์ต่างๆ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
3. แสวงหาความรู้จากงานวิจัย หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
2.2 วิธีการสอน
1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning/group process
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
3. จัดบรรยายพิเศษโดยวิทยากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ตรง
4. การสอนแบบโครงงาน (project base learning) โดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานในการเรียนรู้(community base learning)
2.3 วิธีการประเมินผล
1. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินจากรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาและพฤติกรรมการทำงานอื่นๆ
3. ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษาและโครงงาน

3. ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
1. สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม
2. สามารถสืบค้นและประเมินข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. สามารถคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันสถานการณ์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
4. สามารถนำความรู้ ไปเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจและสร้างสรรค์สังคม
3.2 วิธีการสอน
1. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกทักษะการคิด ทั้งในระดับบุคคลและกลุ่ม เช่น สะท้อนคิด อภิปรายกลุ่ม การทำกรณีศึกษา การทำโครงงานฯลฯ
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติงานจริง
3.3 วิธีการประเมินผล
1. การเขียนรายงานของนักศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การใช้ข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่ให้นักศึกษาคิดแก้ปัญหา
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
1. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม
2. สามารถปรับตัว รับฟัง ยอมรับความคิดเห็น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม
3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4. สามารถรวมกลุ่มคิดริเริ่ม วางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและรับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
4.2 วิธีการสอน
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและงานที่ต้องมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
2. สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบ การมีมนุษยสัมพันธ์ การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร ฯลฯ
4.3 วิธีการประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาขณะทำกิจกรรมกลุ่ม
2. การนำเสนอผลงานเป็นกลุ่ม
3. ประเมินความสม่ำเสมอของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
4. ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
1. สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน
2. ก้าวทันเทคโนโลยีปัจจุบันและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อการสืบค้น ศึกษาด้วยตนเอง นำเสนอ และสื่อสาร
3. เข้าใจปัญหา วิเคราะห์ และเลือกใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์และสถิติที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
5.2 วิธีการสอน
1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกทักษะการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน ในระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
2. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลากหลายและเหมาะสม
3. จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางคณิตศาสตร์และสถิติ
5.3 วิธีการประเมินผล
1. ทักษะการพูดในการนำเสนอผลงาน
2. ทักษะการเขียนรายงาน
3. ทักษะการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ความสามารถในการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่ออธิบาย อภิปรายผลงานได้อย่างเหมาะสม
6. ทักษะพิสัย
6.1 ทักษะพิสัยที่ต้องพัฒนา
- การปฎิบัติงานตามโครงงานโดยการทำชิ้นงาน 1 ชิ้น ที่จะต้องพัฒนาทักษะการทำงานด้วยการประยุกต์ใช้ความรู้ ทฤษฎี สู่การบูรณาการเป็นชิ้นงานที่ต้องปฎิบัติ
6.2.วิธีการสอน
- การทำโครงงานโดยมีชิ้นงานเป็นหลัก
6.3.วิธีการประเมินผล
- วัดผลและประเมินผลจากชิ้นงานของโครงการ




หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน
1
แนวทางการเรียนการสอน
- แนวคิดรายวิชา
- จุดประสงค์การเรียนรู้
- ความสำคัญที่ต้องเรียนรายวิชามนุษย์ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้
- รูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียน
2
- การปฐมนิเทศ
- การแนะนำตัว
- แจก Course syllabus
- สร้างข้อตกลงร่วมในกระบวนการเรียนการสอน
- กิจกรรมที่ 1 “ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา” จากแบบทดสอบ Pre-test
อ.วัลลภ
2-4
โลกทางกายภาพและชีวภาพ
- โลกทางกายภาพ
- โลกทางชีวภาพ
- ความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ในโลก
6
- การอธิบายเนื้อหา โดยใช้ PowerPoint
- Ecological Time Scale
- แผนภาพความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
- กิจกรรมที่ 2 “ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก” โดยการสร้างแผนภาพ
อ. วัลลภ
5-7
ระบบนิเวศและความสัมพันธ์
เชิงระบบ
- ความหมายของระบบนิเวศ
- โครงสร้างของระบบนิเวศ
- หน้าที่ของระบบนิเวศ
- ความสัมพันธ์เชิงระบบ
6
- การอธิบายเนื้อหา โดยใช้ PowerPoint
- กิจกรรมที่ 3 “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติและระบบนิเวศ”
- กิจกรรมที่ 4 “ความสัมพันธ์เชิงระบบของระบบนิเวศ”
อ. วัลลภ
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน



- ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1
- เฉลยแบบทดสอบพร้อมทั้งให้รายละเอียดเพิ่มเติม
- เสนอความคิดเห็นและเปิดประเด็นซักถามเพิ่มเติม เพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
- อาจารย์สรุปประเด็นและให้ข้อเสนอแนะ

8-10
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหมายของความหลากหลาย
ทางชีวภาพ
- ประเภทความหลากหลายทางชีวภาพ
- ความสำคัญและประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ
- ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
- การวัดความหลากหลายทางชีวภาพ
- การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
- ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ
6
- การอธิบายเนื้อหา โดยใช้ PowerPoint
- กิจกรรมที่ 5 “ความหลากหลายทางชีวภาพและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ” จากการให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มค้นคว้าในประเด็นเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น โดยยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเป็น Case study
- นักศึกษานำเสนอโครงงานจากเนื้อหาความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น
- นำโครงงานมา Discussion เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม
- ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2
- เฉลยแบบทดสอบพร้อมทั้งให้รายละเอียดเพิ่มเติม
- อาจารย์สรุปประเด็นและให้ข้อเสนอแนะ
อ. วัลลภ

สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน
11-12
การดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ประชากรมนุษย์และความสัมพันธ์ทางพื้นที่
- ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเกษตรกรรม
-ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรม
- ปัญหาสิ่งแวดล้อม
4
- การอธิบายเนื้อหา โดยใช้ PowerPoint
- กิจกรรมที่ 6 “ปัญหาสิ่งแวดล้อม และพิบัติภัยในชุมชน” จากการแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาค้นคว้า โดยยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเป็น Case study
- นักศึกษานำเสนอผลงานเป็นรายกลุ่ม
- นำผลการศึกษามา Discussion เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม
- อาจารย์สรุปประเด็นและให้ข้อเสนอแนะ
อ. วัลลภ
13-15
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยชุมชนอย่างยั่งยืน
กลุ่มที่ 1 การจัดการดินและที่ดิน
กลุ่มที่ 2 การจัดการน้ำ
กลุ่มที่ 3 การจัดการป่าไม้
กลุ่มที่ 4 การจัดการสัตว์ป่า
กลุ่มที่ 5 การจัดการแร่ธาตุ
กลุ่มที่ 6 การจัดการพลังงาน
กลุ่มที่ 7 การจัดการขยะ
กลุ่มที่ 8 การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว
6
- การอธิบายเนื้อหา โดยใช้ PowerPoint
- กิจกรรมที่ 7 “แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยชุมชนอย่างยั่งยืน”
- นักศึกษาออกสำรวจภาคสนามสัมภาษณ์ชาวบ้าน
- นำความรู้มาอภิปรายข้อมูลหน้าชั้นเรียน/เสนอผลงานที่ได้
- เสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติฯ โดยชุมชนอย่างยั่งยืน
- อาจารย์สรุปประเด็นและให้ข้อเสนอแนะ
อ. วัลลภ
16
สอบปลายภาค
2
แบบทดสอบอัตนัย
อ.วัลลภ
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
กิจกรรมที่ 1 “ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา”
ประเมินจากใบงานกิจกรรม
1
-
กิจกรรมที่ 2 “ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก”การสร้างEcological Time Scale
และแผนภาพความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์

ประเมินจากใบงานกิจกรรม
4
5%
กิจกรรมที่ 3 “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ ใน”กิจกรรม “นักสืบสายน้ำปิง”

ประเมินจากใบงานกิจกรรม
5
5%
กิจกรรมที่ 4 “ความสัมพันธ์เชิงระบบของระบบนิเวศ”ในกิจกรรมการศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมโลกจากการสังเคราะห์การชมภาพยนต์“An Inconvenient Truth”

ใบงานกิจกรรม
6
5%
ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1
ข้อสอบปรนัย
7
10%
กิจกรรมที่ 5 “ความหลากหลายทางชีวภาพและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”จากโครงงานความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนท้องถิ่น

ประเมินจากการนำเสนอโครงการ
9
20%
ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2
ข้อสอบปรนัย
10
10%


หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. เอกสารตำราหลัก
นิวัติ เรืองพานิช. (2534). นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ประชา อินทร์แก้ว. (2542). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: เติร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชัน.
ยุพดี เสตพรรณ. (2544). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: พิศิษฐิการพิมพ์.
วัลลภ ทองอ่อน. (2553). ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

2. ภาพยนตร์และเว็บไซต์
1. ภาพยนตร์เรื่อง ““An Inconvenient Truth”
2. www.dcms.thailis.or.th/tdc/basic.php
3. www.deqp.go.th/
4. www.environnet.in.th/
5. www.mnre.go.th/
6. www.wikipedia.com/
7. www.thaienv.com/

3.เอกสารและข้อมูลแนะนำ
มนัส สุวรรณ. (2532). นิเวศวิทยากับการพัฒนาเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ราตรี ภารา. (2538). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
วิเชียร เทียนน้อย. (2533). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรวัฒนา.
วิเชียร เทียนน้อยและประชา อินทร์แก้ว. (2539). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียน
สโตร์.
วิไล บุญญประภา. (2542). พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
วิสูตร พึ่งชื่น. (2540). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: พัฒนาวิชาการ.
ศศินา ภารา. (2550). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สง่า ก้อนในเมือง. (2531). นิเวศวิทยา. สำนักส่งเสริมวิชาการวิทยาลัยครูนครราชสีมา.
สนธิ วรรณแสง และคณะ. (2543). การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
สวัสดิ์ โนนสูง. (2543). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
- ประเมินประสิทธิผลจากผลการเรียนของนักศึกษา
- ประเมินประสิทธิผลจากผลการประเมินการสอนของนักศึกษาผ่านทาง web site ของมหาวิทยาลัย
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
- นักศึกษาสามารถประเมินผู้สอนและประเมินการสอนผ่านทาง web site ของมหาวิทยาลัย
3. การปรับปรุงการสอน
- หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 1-2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
- ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
- จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3 และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
ใบงานที่ 1
การประเมินตนเองก่อนเรียน
“ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา”
ชื่อ .............................................................................หมู่เรียน.......................................รหัส................

1. นักศึกษาเคยได้ยินคำว่า “ระบบนิเวศถูกทำลาย” หรือไม่ ในคำพูดนี้
1.1 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศตามความเข้าใจของนักศึกษา คืออะไร
1.2 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศจะถูกทำลายไปจากสาเหตุใดบ้าง
1.3 นักศึกษาคิดว่าหากระบบนิเวศถูกทำลายไปจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
นักศึกษาส่งคำตอบทุกประเด็น ในfacebook ในช่องบันทึกของนักศึกษา แล้วแจ้งการส่งมาที่ facebook ใน e-mail ชื่อ voice_of_village@hotmail.com

ใบงานที่ 2
การสร้างEcological Time Scale
และแผนภาพความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
ชื่อกลุ่ม....................................................................สมาชิกกลุ่ม.............................................................
1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 10 คน ศึกษาเรื่อง “Ecological Time Scale และความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
2. นักศึกษาแต่ละกลุ่ม สร้าง Ecological Time Scale และแผนภาพความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
a. ศึกษาเนื้อหาและช่วงเวลาของ Ecological Time Scale และความก้าวหน้าทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์
b. สร้างประโยค/วลี/คำพูดสั้นๆที่บ่งบอกถึงแนวคิด (concept) ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละช่วงเวลา/ช่วงยุค
c. นำกระดาษเทปมาวางแล้วสร้างช่วงแต่ละมหายุค ยุค และสมัยทางธรณีวิทยาแล้ววางชื่อมหายุค ยุค และสมัย พร้อมประโยคที่เป็นแนวคิดแทนสิ่งที่เกิดขึ้น
d. ตกแต่งสวยงามและนำเสนอ




ใบงานที่ 3
กิจกรรม “นักสืบสายน้ำปิง”
ชื่อกลุ่ม...................................................................สมาชิกกลุ่ม..............................................................
1. นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 10คน ศึกษารายละเอียดของกิจกรรมนักสืบสายน้ำจาก www.greenworld.or.th/environment/river ในประเด็นต่อไปนี้
a. ความสำคัญของลำน้ำ
b. ขั้นตอนและกระบวนการในการประเมินคุณภาพน้ำโดยใช้กลุ่มสัตว์เล็กน้ำจืดเป็นตัวชี้วัด
c. แนวทางการอนุรักษ์ลำน้ำและสิ่งแวดล้อม
2. นักศึกษาออกสำรวจลำน้ำปิงหรือสาขา ศึกษาการประเมินคุณภาพน้ำโดยทำตามขั้นตอนในคู่มือนักสืบสายน้ำ พร้อมผลการประเมิน
3. นำเสนอผลการประเมินคุณภาพลำน้ำในรูปของการอภิปรายในชั้นเรียน

ใบงานที่ 4
กิจกรรมการศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมโลก

นักศึกษาที่ลงทะเบียนทั้งหมด ร่วมกิจกรรมการศึกษาการศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมโลก จากการชมภาพยนตร์เรื่อง “An Inconvenient Truth” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การร่วมกิจกรรมชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth
2. เขียนความเรียงในประเด็นต่อไปนี้
a. เนื้อหา/องค์ความรู้ที่ได้จากการชมภาพยนตร์
ความเรียงเรื่อง “เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราจะต้องร่วมมือกันทำสิ่งใด”จำนวน 1 หน้ากระดาษ a4 แล้วนำลงที่ facebook ของตนเองและแจ้งการส่งมาใน e-mail ชื่อ voice_of_village@hotmail.com

ใบงานที่ 5
โครงงานความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนท้องถิ่น
นักศึกษาจะต้องจัดทำโครงงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยชุมชนเป็นพื้นที่ในการจัดทำโครงงานประกอบด้วยขั้นตอน
1. เลือกประเด็นปัญหา
2. จัดเตรียมวางแผนในการศึกษาปัญหา
3. ศึกษาปัญหา
4. นำเสนอโครงงานการแก้ปัญหาต่ออาจารย์
5. วางแผนในการทำโครงงาน
6. จัดทำ/นำเสนอโครงงานต่อชุมชน
7. ประเมินผล
ตัวอย่างโครงงาน
โครงงาน “เสียงตามสายเรื่องการจัดการน้ำโดยชุมชน ของหมู่บ้านหนองปิ้งไก่”
โครงงาน “การศึกษาระบบนิเวศริมน้ำปิง ชุมชนนครชุม”
โครงงาน “การศึกษานักสืบสายน้ำ แม่น้ำปิง”
โครงการ “การทำหนังสั้น สิ่งมีชีวิตจากนอกระบบนิเวศ”

กระบวนการในการทำงานโครงงาน

ชื่อโครงงาน………………………………………………………………………………………………………...
หลักการ
กระบวนการในการทำงาน
1) เริ่มการเรียนรู้จากคำถาม/ปัญหา (Start with Question)

2) ออกแบบวางแผนสำหรับโครงงาน (Design a plan for project)

3) สร้างตารางในการทำงาน (Create a Schedule)

4) ติดตามดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการตามโครงการได้ (Monitor the Progress of the Project)

5)เข้าถึงผลลัพท์ของการทำงาน(Assess the Outcome)

6)ประเมินผลตามประสบการณ์(Evaluate the Experience)



ใบงานที่ 6
การประเมินตนเองหลังเรียน
“ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา”
ชื่อ .............................................................................หมู่เรียน.......................................รหัส................

1.นักศึกษาเคยได้ยินคำว่า “ระบบนิเวศถูกทำลาย” หรือไม่ ในคำพูดนี้
1.1 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศตามความเข้าใจของนักศึกษา คืออะไร
1.2 นักศึกษาคิดว่าระบบนิเวศจะถูกทำลายไปจากสาเหตุใดบ้าง
1.3 นักศึกษาคิดว่าหากระบบนิเวศถูกทำลายไปจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
นักศึกษาส่งคำตอบทุกประเด็น ในfacebook ในช่องบันทึก แล้วส่งมาที่ facebook ใน e-mail ชื่อ voice_of_village@hotmail.com